บทความไม้สัก

ถิ่นกำเนิดของไม้สัก

            ไม้สัก มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Teak และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tectona grandis อยู่ในวงค์ Verbenaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก
            ไม้สัก เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และบางส่วนของภาคกลางและตะวันตก คือ ในท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ สำพูน เชียงราย สำปาง แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และพิจิตรและมีบ้างเล็กน้อยในจังหวัด นครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี 
            ไม้สัก ชอบขึ้นตามพื้นที่ที่เป็นภูเขา แต่ในพื้นที่ราบที่น้ำไม่ขังไม้สักก็ขึ้นได้ดีเช่นเดียวกัน ในพื้นที่ที่เป็นดินปนทรายแต่น้ำไม่ขัง ไม้สักมักขึ้นเป็นหมู่ไม้สักล้วน ๆ และมีไม้ขนาดใหญ่ ไม้สักชอบพื้นที่ที่มีชั้นดินลึก การระบายน้ำดี ไม่ชอบดินแข็งและน้ำท่วมขัง
            ไม้สัก ขึ้นได้ดีในดินที่เกิดจากหินหลายชนิด แต่ความเจริญงอกงามของไม้สักขึ้นอยู่กับความลึก การระบายน้ำ ความชื้น และความอุดมสมบูรณ์ ของดินนั้น ๆ โดยเฉพาะในดินที่เกิดจากหินปูนซึ่งแตกแยกผุผังจนกลายเป็นดินร่วนที่ลึก ไม้สักชอบมากและเจริญเติบโตดีมาก ไม้สักชอบดินที่มีความเป็นกลางและด่างเล็กน้อย ค่า pH ระหว่าง 6.5-7.5 ปริมาณน้ำฝน ระหว่าง 1,200-2,000มม. ต่อปี ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 700 เมตร และมีฤดูแล้งแยกจากฤดูฝนชัดเจนจะทำให้ไม้สักมีลวดลายสวยงาม

ลักษณะของต้นสัก

            ไม้สัก เป็นต้นไม้ผลัดใบ ขนาดใหญ่มีลำต้นเปลา มักมีพูพอน ตอนโคนต้นเรือนยอดกลม สูงเกินกว่า 20 เมตร
            เปลือก หนา 0.30-1.70 ซม. สีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา แตกเป็นร่องตื้น ๆ ไปตามทางยาวและหลุดออกเป็นแผ่นบาง ๆ เล็ก ๆ
            ใบ ใหญ่ ความกว้าง 25-30 ซม. ความยาว 30-40 ซม. รูปใบรีมน หรือรูปไข่กลับ แตกจากกิ่งเป็นคู่ ๆ ท้องใบสากหลังใบสีเขียว แกมเทา เป็นขน
            ดอก เล็กสีขาวนวล ออกเป็นช่อใหญ่ ๆ ตามปลายกิ่งเริ่มออกดอกเดือน มิถุนายน เป็นต้น 
            ผล ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลหนึ่ง ๆ มีเมล็ดใน 1-4 เมล็ด เปลือกแข็งมีขนสั้น ๆ นุ่ม ๆสีน้ำตาล หุ้มอยู่ ผลแก่ในราวเดือน พฤศจิกายน-มกราคม
            ลักษณะเนื้อไม้ สีเหลืองทอง ถึงสีน้ำตาลแก่ มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาลแก่แทรก เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง เลื่อยใสกบ ตบแต่งง่าย
คุณสมบัติบางประการ

            ไม้สัก ปลวกและมอดไม่ทำอันตราย เพราะในเนื้อไม้สักมีสารเคมีพิเศษอยู่ชนิดหนึ่ง ชื่อ O-cresyl methyl ether สารเคมีชนิดนี้ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมป่าไม้ มีคุณสมบัติ เมื่อทาหรืออาบไม้แล้วไม้จะมีความคงทนต่อ ปลวก แมลง เห็ดราได้อย่างดียิ่ง นอกจากนี้ในไม้สักทอง ยังพบว่ามีทองคำปนอยู่ 0.5 ppm. (ไม้สักทอง 26 ต้น มีทองคำหนัก 1 บาท) 
            ไม้สัก เป็นไม้เนื้อแข็งตามมาตรฐานของกรมป่าไม้ จากการทดลองตามหลักวิชาการไม้สักมีความแข็งแรงสูงกว่า 1,000 กก./ตร.ซม. และมีความทนทานตามธรรมชาติ จากการทดลองนำส่วนที่เป็นแก่นของไม้สักไปทดลองปักดิน ปรากฏว่า มีความทนทานตามธรรมชาติเกินกว่า 10 ปี (ระหว่าง 11-18 ปี)
          

 

การประเมินอายุไม้สักจากเส้นรอบวง

ท่อนที่

อายุ (ปี)

ความโตของเส้นรอบวง (ซ.ม.)

ความโตเฉลี่ย/ปี (ซ.ม.)

1

5

39

7.80

2

10

63

6.30

3

15

74

4.93

4

20

86

4.30

5

25

92

3.68

6

63(ไม้สักป่าธรรมชาติ)

90

1.43

                                                                                                                              ที่มา : วัดจากตัวอย่างไม้สักทองของสวนป่าแม่เมาะ จ.ลำปาง ( อ.อ.ป.)

                         

การผึ่งและอบไม้ หมายถึง ขบวนการหรือกรรมวิธีในการทำให้ความชื้นหรือน้ำระเหยออกจากเนื้อไม้ที่สดหรือมีความชื้นมากเกินพอ โดยเหลือปริมาณความชื้นอยู่ในเนื้อไม้ได้ส่วนสมดุลกับบรรยากาศที่อยู่โดยรอบไม้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์นั้น คือให้เหลือความชื้นอยู่ในไม้ประมาณ 1 ใน 10ของความชื่นสดหรือประมาณ 8 – 16 % ( 12% โดยเฉลี่ย) สำหรับสภาวะอากาศของประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการผึ่งและอบไม้ เพื่อให้เสียเวลาน้อยที่สุดและต้องไม่ทำให้ไม้เมื่อผึ่งและอบแล้วมีตำหนิน้อยที่สุด

ความจำเป็นที่ต้องการผึ่งและอบไม้

การผึ่งและอบไม้เป็นกรรมวิธีขั้นแรกของการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีดินฟ้าอากาศแบบโซนร้อน มีสภาพดินฟ้าอากาศในแต่ละท้องถิ่นจังหวัดและในแต่ละภาคแตกค่างกันออกไป จึงเกิดปัญหาในด้านการใช้ประโยชน์อย่างมาก แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ไม้เนื้อแข็งจะมีลักษณะโครงสร้างหรือกายวิภาคทางเนื้อไม้สลับซับซ้อนจึงมักจะเกิดตำหนิได้ง่าย

การผึ่งและอบไม้สามารถขจัดการสูญเสียไม้อันเกิดจากตำหนิต่าง ๆ เช่น การแตกที่ผิวและภายในเนื้อไม้ ( Cracking ) การแตกต่างตามหัวไม้ ( Splitting ) การบิดงอ ( Warping ) เหล่านี้ เป็นต้น ในขณะอบไม้ที่มีความชื้นสูงหรือไม้สด ถ้าไม่ควบคุมการระเหยของน้ำจากเนื้อไม้มักจะประสบปัญหาดังกล่าว อันเนื่องมาจากการยืดและหดตัวของไม้ สำหรับสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศไทยที่มีปริมาณความชื้นสมดุลของอากาศ 8-16% เช่นนี้จึงต้องมีความจำเป็นในการผึ่งและอบไม้ให้ได้ความชื้นสมดุลกับอากาศของแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้ไม้มีการคงรูปแน่นอนเมื่อนำไม้ไปใช้จะไม่มีการยืดหรือหดตัว ซึ่งอาจทำความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างได้ เช่น การเข้ารางลิ้น ข้อต่อ การบิดงอไปจากแนวระดับ และการแตกเสียหายของไม้

ประโยชน์ของการผึ่งและอบไม้

1. ทำให้ไม้มีน้ำหนักเบาเป็นผลดีต่อการขนส่งไม้จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งต้นทุนในการขนส่งได้มาก
2. ทำให้ไม้หดตัวเสียก่อน ก่อนที่จะนำไปใช้ประโยชน์
3. ทำให้ไม้อยู่ตัวหรือคงรูป มีการยืดหรือหดตัวน้อย ไม่เป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้างต่าง ๆ
4. ไม้เมื่อแห้งดีแล้วจะมีคุณสมบัติด้านความแข็งแรง ( Strenght ) ดีกว่าเดิม
5. ความแข็งแรงของรอยต่อที่ต่อด้วยตะปูหรือตะปูควงจะดีขึ้น
6. ทำให้ไม้เป็นฉนวนความร้อนและฉนวนไฟฟ้าได้ดี
7. ทำให้ทาสีหรือทาน้ำมันชักเงาได้ดีขึ้น
8. ทำให้ไม้พ้นจากาการทำลายของแมลงและเห็ดราต่างๆ
9. ไม้ที่อบหรือผึ่งอย่างดีแล้วจะติดกาว อาบน้ำยารักษาเนื้อไม้หรืออาบน้ำยาทนไฟได้ดีขึ้น
10. ทำให้ใช้เก็บเสียงได้ดีขึ้น ( Sound absorption )

กรรมวิธีการผึ่งและอบไม้ ( Methods Used to Dry Lumber )
กรรมวิธีการผึ่งและอบไม้ที่ใช้กันทั่วๆไป มีอยู่ด้วยกันหลายวิธีขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งานตลอดจนคุณภาพของไม้ที่อบแห้งให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจการลงทุนในปัจจุบัน ที่สำคัญที่นิยมใช้กันเสมอมีด้วยกัน 2 วิธี คือ

1. การผึ่งด้วยกระแสอากาศ ( Air drying or Seasoning )

เป็นการทำให้ไม้แห้งโดยวิธีธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ในอากาศได้ ดังนั้นการแห้งของเนื้อไม้จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและสภาพภูมิประเทศในบริเวณกองไม้ที่ทำการผึ่ง ดังนั้นปริมาณความชื้นในไม้จึงไม่แน่นอน การทำให้ความชื้นในไม้ต่ำกว่า 25% จึงจำเป็นต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน การผึ่งแห้งโดยกระแสอากาศนี้มีการปฏิบัติมากในหลายพื้นที่ ซึ่งสามารถทำการกองไม้ในที่โล่งแจ้ง หรือกองไม้โดยมีหลังคาคลุม (พบว่าในการอบแห้งด้วยเตาอบ จำเป็นต้องผึ่งกองไม้ในกระแสอากาศก่อนนำเข้าเตาอบเพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนและเวลาในการอบ)

การผึ่งแห้งโดยกระแสอากาศนี้สามารถทำได้ทั้งไม้แปรรูปหรือไม้ท่อนขนาดเล็กที่ใช้ในงานก่อสร้าง เช่น เสา หรือไม้ค้ำยัน หรือกองไม้ไว้เพื่อรอนำไปทำชิ้นไม้สับ ไม้ที่จะนำมากองผึ่งในกระแสอากาศควรจะทำการปอกเปลือกออกให้หมดเป็นดารป้องกันการเกิดเชื้อราหรือแมลงทำลายเนื้อไม้ บริเวณที่กองไม้ควรสะอาดปราศจากวัชพืชหรือเป็นแอ่งน้ำทั้งนี้พื้นดินที่กองไม้ควรมีความลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อให้น้ำได้ไหลผ่านสะดวกไม่ขังนอง พื้นดินควรมีการอัดแน่นสามารถรับน้ำหนักกองไม้ได้และไม่ควรมีเศษกรวด หิน หรือทรายบนพื้นเพราะจะติดไปกับเนื้อไม้ทำให้เป็นอันตรายต่อเครื่องมือแปรรูปต่างๆ วัชพืชในบริเวณใกล้เคียงควรกำจัดออกให้หมดเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัยไม้เนื้ออ่อนท่อนเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 6 นิ้ว กองผึ่งในกระแสอากาศช่วงฤดูแล้งต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน เพื่อทำให้ความชื้นในไม้ลดลงเหลือประมาณ25-30% สำหรับไม้ท่อนต่างๆ ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 30 ซม. ขึ้นไปไม่ควรกองผึ่งไว้นานเกินไป ควรทำการแปรรูปไปใช้ประโยชน์โดยเร็ว เมื่อทำการแปรรูปแล้วจึงนำมากองไว้นานเกินไป ควรทำการแปรรูปไปใช้ประโยชน์โดยเร็ว เมื่อทำการแปรรูปแล้วจึงนำมากองไว้โดยบริเวณดังกล่าวควรมีการถ่ายเทของอากาศผ่านกองไม้แปรรูปได้สะดวก

ขนาดของกองไม้โดยมากไม่ควรให้กว้างเกนกว่า 2 ม. เพราะไม้ที่กองอยู่บริเวณกึ่งกลางของกองไม้จะแห้งค่อนข้างช้ากว่าไม้ส่วนอื่นๆ อาจทำให้เกิดเชื้อราหรือถูกทำลายจากแมลงส่วนความสูงของกองไม้ไม่มีข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความมั่นคงของกองไม้ไม่ล้มลงมาได้ง่าย ระยะห่างของแต่ละกองควรห่างกันพอประมาณเพื่อให้กระแสอากาศไหลผ่านได้ดีและสะดวกต่อการขนย้ายหรือรวมกอง ทั่งนี้ระยะห่างของกองไม้ไม่น้อยกว่า 30 ซม. กองไม้แต่ละกองควรสูงกว่าพื้นดินไม่น้อยกว่า 30 ซม. สำหรับไม้คั่น ที่นิยมใช้กับไม้แปรรูปมีอยู่ 2 ขนาด คือ ขนาด 1 x 1 นิ้ว และ 1 x ? นิ้ว ขนาดของไม้คั่นมีผลต่อการแห้งของแผ่นไม้ว่าเร็วหรือช้าไม้บางชนิดที่แห้งง่ายและเกิดตำหนิน้อย เราสามารถใช้ไม้คั่นได้หนาถึง1 ? นิ้ว เช่น ไม้สัก ไม้สะเดาเทียมการกองไม้มีความสำคัญอันดับแรกในการทำให้ไม้แห้ง ไม่ว่าจะผึ่งแห้งด้วยเตาอบไม้ ดังนั้นระยะของไม้คั่นต่อความหนาของไม้แปรรูปต้องสัมพันธ์กัน และแนวของไม้คั่นต้องเป็นเส้นตรงในแนวดิ่งเดียวกัน

ข้อแนะนำเกี่ยวกับความหนาและกว้างของไม้คั่น ( sticker ) กับระยะห่างของไม้คั่นกับความหนาของไม้แปรรูปที่จะกองมีทั้งนี้ระยะห่างและความหนาของไม้คั่นอาจเปลี่ยนแปลงไปจากตารางข้างต้นนี้ได้ขึ้นอยู่กับการสังเกตุของผู้ปฏิบัติงานสามารถดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เหมาะสมกับสภาพและสถานที่เป็นจริง ขณะทำการกองไม้ได้โดยไม่มีข้อจำกัดแต่อย่างใด อนึ่งก่อนทำการกองไม้จำเป็นต้องมีการคัดแยกขนาด โต ยาว หรือขนาดของไม้ที่จะกองให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน จากนั้นจึงทำการกองไม้ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในไม้แปรรูป การกองไม้ที่มีขนาดความหนาต่างกัน ไม่ควรต่างกันเกินกว่า 1 นิ้ว เพราะทำให้การแห้งของไม้แตกต่างกันควบคุมความชื้นในไม้เป็นไปด้วยความลำบากและอาจเกิดตำหนิได้สำหรับบางโอกาศที่ไม่สามารถคัดแยกได้ทันกองไม้หนึ่ง ๆ ควรให้ความยาวของกองไม้เท่ากันหรือหัวท้ายกองไม้ไม่มีไม้ขนาดความยาวต่างๆกันยื่นออกไปจากกอง กองไม้ที่หัวท้ายสม่ำเสมอกระแสอากาศสามารถหมุนเวียนผ่านกองไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้การแห้งของไม้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ บางฤดู เช่น ฤดูฝนการกองไม้ควรกองใต้โรงเรือนหรือมีหลังคาคลุมกองไม้ เพื่อป้องกันน้ำและความชื้นของอากาศ เข้าไปในกองไม้มากเกินควร นอกจากจะทำให้ไม้แห้งช้าแล้วอาจเป็นสาเหตุ ทำให้ไม้แห้งช้าแล้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดชื้อราบนเนื้อไม้ได้ เช่นไม้ยางพารา ไม้สน เป็นต้น

2.การอบแห้งด้วยเตาอบ ( kin drying )

การทำทำให้ไม้แห้งโดยวิธีนี้ เราสามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ได้ตามต้องการ และสามารถทำให้การแห้งของไม้เป็นไปอย่างต่อเนื่องช้าหรือเร็วได้ ไม้ที่ผ่านการอบแล้วจะมีปริมาณความชื้นตามความต้องการตรงกับประโยชน์ที่จะนำไม้นั้นๆ ไปใช้งาน การอบแห้งที่ดีต้องใช้เวลาน้อยสุดเพื่ออบให้มีความชื้นตามต้องการและปราศจากตำหนิต่างๆ ที่จะเกิดในไม้ดังนั้นการอบแห้งด้วยเตาอบ ( kiln drying ) ใช้เงินทุนสูงกว่าการผึ่งแห้งโดยกระแสอากาศแต่ระยะเวลาที่ใช้อบแห้งเพียง1/10 ถึง 1/30 เท่าของเวลาที่ใช้ผึ่งแห้งโดยกระแสอากาศ

ปัจจุบันมีการพัฒนาโดยผสมผสานระหว่างการผึ่งแห้งด้วยกระแสอากาศและอบแห้งด้วยเตาอบ ทำให้ไม้ที่จะนำเข้าเตาอบมีความชื้นต่ำลงและความแตกต่างของความชื้นน้อยโดยชั้นแรกกองไม้ผึ่งไว้ในกระแสอากาศให้ความชื้นของไม้โดยเฉลี่ยประมาณหรือต่ำกว่า 30% กองไม้นี้ต้องกองอยู่ในโรงเรือนที่มีฝา 3 ด้าน ฝาด้านข้างกองไม้หนึ่งด้านติดพัดลม เพื่อให้การหมุนเวียนของอากาศรอบกองไม้ดีและเร็วขึ้นเป็นการเร่งให้การระเหยของน้ำในไม้มากขึ้น การกองไม้ควรให้ปริมาณมากเพียงพอต่อการเข้าอบไม้ในแต่ละครั้งของแต่ละเตา ผลดีของการเตรียมไม้ไว้รอเข้าเตาอบ โดยเวลาในการทำการผึ่งไม้นี้ ( Predrying ) นานพอๆ กับเวลาใช้ไม้ด้วยเตาอบในแต่ละครั้ง เมื่อไม้ในเตาอบแห้งได้ตามความชื้นที่ต้องการแล้ว เราสามารถนำไม้ที่ผึ่งโดยกระแสอากาศเข้าเตาอบต่อไป จากที่ได้มีการทดลองในหลายประเทศปรากฏว่าถ้านำไม้ที่สดอยู่แล้วมาทำการอบด้วยเตาอบโดยมิได้ผึ่งกระแสอากาศให้ไม้หมาดลง เวลาที่ใช้ในการอบแห้งด้วยเตาอบพบว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4 ถึง 5 อาทิตย์ ไม้จึงจะแห้ง ข้อพึงระวังในการนำไม้เข้าเตาอบควรคำนึง คือ

1. ชนิด และขนาดของไม้ ควรเป็นชนิด และขนาดเดียวกัน

2. กรณีที่จำเป็นต้องคละขนาด ไม่ควรให้ขนาดความหนาต่างกันเกิน 1 นิ้ว

3. ไม้ที่มีความชื้นมากสุด ( กรณีที่กองผึ่งไม้ในกระแสอากาศก่อนเข้าเตาอบไม้ที่อยู่กลางกองจะเป็นไม้ที่มีความชื้นสูงสุด กรณีคละความหนาไม้ที่มีความชื้นสูง กรณีคละความหนาไม้ที่มีความหนาสูงสุดจะมีความชื้นมาก ) ต้องนำมาเป็นไม้ตัวอย่างหาความชื้นขณะทำการอบไม้

4. กรณีคละชนิดไม้เข้าเตาอบ ไม้ที่มีคุณสมบัติในการอบแห้งยาก ต้องใช้ตารางอบไม้สำหรับการอบไม้ชนิดนั้นเป็นหลักในการอบ

ดังนั้น ในการทำให้ไม้แห้งไม่ว่าจะโดยวิธีผึ่งกระแสอากาศหรืออบไม้ด้วยเตาอบต้องควบคุมไม่ให้ผิวหน้าไม้แห้งเร็วเกินไป เช่น การผึ่งกระแสอากาศจำเป็นต้องมีโรงเรือนคลุมหรือวัสดุคลุมกองไม้เพื่อป้องกันการเสียน้ำมากและเณ็วเกินไป ส่วนการอบไม้ด้วยเตาอบต้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ให้เหมาะสม เพราะถ้าผิวหน้าไม้ภายนอกแห้งเร็วเกินไปขณะเดียวกันภายในเนื้อไม้ยังมีความชื้นสูงอยู่ พบว่าถ้าความชื้นของเนื้อไม้ด้านนอกแตกต่างกับความชื้นในไม้เกิน 5% จะเกิดแรงเค้นในเนื้อไม้เป็นสาเหตุของการตำหนิต่างๆ ได้ เช่น โค้ง อาการแข็งนอก ( Case hardening ) แตกแบบรังผึ้ง ( honeycombing ) ในเนื้อไม้ได้ ทั้งนี้ตำหนิต่างๆ อาจเกิดจากคุณสมบัติเฉพาะตามธรรมชาติของเนื้อไม้ เช่น ลักษณะเสี้ยนไม้ อายุของไม้ที่นำมาใช้งานพบว่าไม้โตเร็ว เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ไม้สะเดาเทียม การเจริญเติบโตที่รวดเร็วของไม้ทำให้เกิดแรงเค้นขึ้นในเนื้อไม้ โดยไม้ที่มีอายุน้อยแรงเค้นจากากรเจริญเติบโต ( growth stress ) ค่อนข้างรุนแรงทำให้เกิดอาการแตกที่ปลายไม้ได้ง่าย ดังนั้น ในการอบแห้งจำเป็นต้องทาสีที่หัว-ท้ายของไม้ เพื่อลดการคายความชื้นในไม้เร็วเกินไป ขณะเดียวกันปลายไม้ทั่งสองด้านต้องใช้ไม้คั่ววางทั้งสองด้านให้พอดีกับหัวและปลายไม้และบนสุดของกองไม้ ควรวางน้ำหนักกดทับกองไม้ด้วย เนื่องจากไม้โตเร็วเมื่อศูนย์เสียความชื้นในไม้ แรงเค้นจากการเจริญเติบโตจะโดนปล่อยออกมาด้วย อาจทำให้ไม้เกิดตำหนิ โก่ง หรือโค่งได้ เพื่อป้องกันและลดอาการดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเอาน้ำหนักทับกองไม้ไว้ขณะทำการอบแห้งหรือผึ่งในกระแสอากาศ ดังนั้นรูปแบบในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับไม้โตเร็วจำเป็นต้องสังเกตุอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับไม้ จากที่กล่าวมาข้างต้นมิได้เป็นข้อปฏิบัติตายตัวจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติต้องบันทึกจดไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการอบหรือการผึ่งแห้ง

ดังนั้น การอบไม้ที่เกิดตำหนิได้ง่าย การใช้ตารางอบต้องระมัดระวังเป็นพิเศษอุณหภูมิไม่ควรสูงมาก ความชื้นสัมพันธ์ภายในตาช่วงแรกของการอบแห้งควรสูงกว่าปกติ ขณะเดียวกันการหมุนเวียนของกระแสลมในเตาอบต้องมีเพียงพอ เราจำเป็นต้องรู้ว่ากระแสลมภายในเตามีความเร็วเท่าใด เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนความชื้นสัมพัทธ์ให้เหมาะสมถูกต้อง

ปริมาณความชื้นในไม้ที่ใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ของประเทศไทยที่กำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มีดังนี้คือ

1. ไม้แปรรูปอบ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

ประเภทที่ 1 ไส้ประตูไม้แผ่นเรียบ ความชื้นอยู่ระหว่าง 8-12%

ประเภทที่ 2 ไม้พื้นและไม้ภายในอื่นๆ ความชื้นอยู่ระหว่าง 12-16%

ประเภทที่ 3 ไม้ทำลังใส่ของ ความชื้นไม่เกิน 20%

  • ชิ้นไม้ปูพื้นปาร์เกไม้สัก ปริมาณความชื้นอยู่ระหว่าง 12-16 %
  • ชิ้นไม้ปูพื้นปาร์เกไม้กระยาเลย ปริมาณความชื้นอยู่ระหว่าง 12-16 %

หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ นักวิชาการป่าไม้ สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้.

ข้อมูลจาก : การใช้ประโยชน์ไม้ขั้นพื้นฐาน. สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้. 2547.
เรียบเรียง : บางรักษ์ เชษฐสิงห์ นักวิชาการป่าไม้ 5
จัดพิมพ์ : สุชาดา สุทธิศรีศิลป์ นักศึกษาฝึกงาน

 

ประตูไม้สัก...กับความนิยมตลอดกาล...

ต้องยอมรับได้เลยว่า ไม้สักนั้น เรานิยมนำมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์  โดยเฉพาะนิยมนำมาทำเป็นประตู เพราะด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงาม ทั้งยังคงทนใช้ได้ยาวนาน ซึ่งด้วยความสวยงามของไม้ และความคงทนนั้น ทำให้การใช้ประตูไม้สัก นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งตัวประตูเองก็มีหลากหลายแบบ หรือหลากหลายเกรดให้เลือกใช้ เราจึงควรทำความรู้จักประตูไม้สักเสียก่อน เพื่อสามารถเลือกนำมาใช้ให้ได้คุณภาพ  โดยไม้สักแบ่งออกเป็นหลายเกรด ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของไม้สัก ความชื้นในเนื้อไม้ ความทนทาน และที่มาของไม้สัก เป็นต้น ซึ่งนั่นทำให้ราคาของ ประตูไม้สัก มีความแตกต่างกัน ทั้งที่เป็นไม้ชนิดเดียวกัน

                           

ความแข็งแรงของประตูจากไม้

ประตูจากไม้ มีด้วยกันหลายประเภท แตกต่างกันตามชนิด ลวดลาย วิธีการทำ และขนาดของไม้ที่นำมาใช้ เช่น ประตูไม้เต็งจะให้ลวดลาย สี และอารมณ์อีกแบบหนึ่ง  ขณะที่จากไม้ยางพารา  ทำให้เกิดความรู้สึกอีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าพูดกันถึงประโยชน์ใช้สอยแล้ว  ประตูจากไม้สัก มีความโดดเด่น เนื่องจากเป็นไม้จริงชนิดเดียวที่ไม่ค่อยเปลี่ยนสภาพตามภูมิอากาศและไม่ผุง่าย เพราะถ้าเป็นไม้ชนิดอื่น เมื่อโดนน้ำมากเข้า หรือมีความชื้นมาก ก็อาจเกิดการโก่งตัว หรือที่เรียกว่า บวม หรือไม่ก็เกิดปรากฎการณ์ประเภทที่เรียกว่า หด ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการเปิดปิดซึ่งพบมากช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว หลายคนเลยเลี่ยงไปใช้ประตูพลาสติกแทน แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ไม่สวยงามและชำรุดเสียหายง่าย คงไม่มีใครอยากจะได้วัสดุพลาสติกเป็นแน่แท้ ที่หน้าบ้าน เพราะส่วนใหญ่มักใช้ติดตั้งที่ห้องน้ำฉะนั้น ความคงตัวไม่ยืดหดง่ายของไม้สัก จึงเป็นข้อดีซึ่งเด่นกว่าไม้จริงอื่นๆ

– หากเป็นบานภายนอกที่เป็นไปได้ว่าจะโดนแดดหรือฝน ก็ควรจะทาเคลือบโพลียูรีเทน หรือสีทาไม้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะในการป้องกัน เพื่อความสวยงามและคงทน เนื่องจากราคาค่างวดของมันนั้นไม่ใช่น้อย

– หากเป็นบานภายใน ไม่ต้องใส่ใจเยอะมากขนาดนั้นก็ได้

                                                                                         

วิธีการเลือกประตูไม้สัก

ในเบื้องต้นเลือกได้ด้วยตนเอง สามารถ ดูที่สีของเนื้อไม้สัก  เพราะถ้าเป็นประตูไม้สักทอง จะมีลวดลายของเนื้อไม้สวยงาม และมีสีน้ำตาลอมเหลืองทอง  บอกได้เลยว่าทั่วไปแล้วการเลือกประตูไม้สักดูง่ายๆ จากพื้นผิวที่สวยเนียนเรียบ รูปแบบของไม้เป็นเนื้อเดียวกัน ไร้รอยต่อ  โดยพื้นผิวที่ดีนั้นได้จากการเก็บรักษาไม้  แต่ประตูไม้สักมีอยู่หลายเกรดหลายราคา ขึ้นอยู่กับงบประมาณในการซื้อของผู้ซื้อ ทั้งยังต้องคำนึงถึงขนาดบานประตู รวมวงกบ ระยะการเปิดประตูที่จะไม่ชนกับผนัง สภาพบานประตูที่ซื้อควรเปิด-ปิดได้เต็มที่ หรือไม่ก็ใช้แบบบานเลื่อนก็ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบ และการใช้งานของตัวบ้าน  แต่ถึงอย่างไรควรปรึกษากับช่าง หรือทางร้านเพื่อความแน่ใจ  เพราะบางประตูเหมาะสำหรับใช้งานภายใน หรือภายนอก ซึ่งแตกต่างกันรวมถึงราคาที่ต้องคำนึงว่าอยากได้ไม้เกรดดีประมาณไหน

                                                                                                                      

แหล่งเลือกประตูไม้สัก

โดยประตูไม้สักนี้ส่วนใหญ่จะมีมากในพื้นที่ต่างจังหวัด พร้อมกับช่างชำนาญการที่มีความรู้โดยหากพูดถึงในกรุงเทพฯ  สามารถพบได้ที่ย่านบางโพ หรือที่รู้กันในชื่อถนนสายไม้ (ประชานฤมิตร) ซึ่งมีร้านให้เลือกสรรกันทุกแบบ ทุกราคา ทุกคุณภาพ แต่จะเป็นการที่เราต้องเดินเลือกเอง เพราะมีอยู่หลายสิบร้าน ซึ่งแต่ละร้านคุณภาพไม้ก็แตกต่างกันหลายเกรด   แต่หากดูง่ายๆว่า เป็นของแท้ ของจริงนั้น หมายถึง ไม้ที่เนื้อสวยเป็นมาตรฐาน   ดูได้จากลายไม้ไม่มีรอยต่อ มีลวดลายละเอียด และควรจะมีการอบไล่ความชื้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันการโก่งหรือหดตัวของไม้สักนั้น  เพราะฉะนั้นการเลือกไม้สักหรือตัวประตูไม้สักเองควรใช้เวลาในการพิจารณาจากหลายๆร้านทั้งร้านเล็กและร้านใหญ่อย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินใจนะครับ...

 

                                                   

ไม้สักที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ในจ.แพร่ แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่...

1.ไม้สักเรือนเก่า...เป็นไม้สักที่คุณภาพดีที่สุด ไม่หดตัว ลายไม้สวย มีแกนไม้เยอะ สีน้ำตาลเข้ม เป็นไม้จากบ้านเรือนหรือส่ิงก่อสร้างอื่นที่ปลูกสร้างไว้เป็นนานแล้ว โดยนำไม้จากส่วนประกอบต่างๆของบ้านหรือสิ่งก่อสร้างดังกล่าว มาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ใหม่ครับ เช่น ตู้ เตียง ประตู หน้าต่าง ฯลฯ

2.ไม้สักออป.  "ออป." ย่อมาจาก "องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้" ชาวบ้านที่จ.แพร่ เรียกว่า "ไม้ ออป." หรือ "ไม้ อป." เป็นไม้สักที่มีคุณภาพรองจากไม้เรือนเก่า...มีความแกร่งของเนื้อไม้ค่อนข้างมาก เนื่องจากปลูกในสภาพพื้นที่ที่เป็นภูเขา อัตราการหดตัวมีน้อยกว่าไม้สัก นส. อายุไม้สักออป.ที่ตัดมาใช้งาน ประมาณ 25 ปี ขึ้นไป และหากอายุไม้มากกว่า 40 ขึ้นไป จะเรียกว่า "ไม้ซุง" เนื่องจากจะมีขนาดลำต้นใหญ่

3.ไม้สัก นส.  "นส." ย่อมาจาก "หนังสือแสดงสิทธิทำกิน" หรือ นส.3 นั่นเองชาวบ้านที่จ.แพร่ จะเรียกว่า "ไม้นส." เป็นไม้สักที่มีคุณภาพต่ำที่สุด ปลูกในป่า/สวน/พื้นที่ราบทั่วไป เป็นไม้ที่มีความแกร่งของเนื้อไม้น้อย อัตราการหดตัวมีมากกว่าไม้สักออป. อายุไม้สักนส.ที่ตัดมาใช้งานไม่แน่นอน แล้วแต่อายุการตัดไม้ของเจ้าของสวน ซึ่งส่วนใหญ่จะตัดขายเมื่อไม้มีอายุ 10 ปีขึ้นไป

***ซึ่งทั้งไม้ออป.และไม้นส. จะต้องนำมาปรับปรุงคุณภาพก่อนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้แก่ การอบ การพึ่งแดด การแช่น้ำ การย่าง เป็นต้น เพื่อป้องกันการหดตัวและการบิดงอของไม้ บางคนก็จัดประเภทไม้เป็นเกรดต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าเลือกครับ  เช่น A+, A , B , B+ , C  ซึ่งการจัดเกรดไม้ส่่วนใหญ่จะใช้อายุของไม้เพื่อจัดแบ่งเกรด รองลงไปเป็นการใช้ลายเนื้อไม้และตำหนิของไม้เพื่อจัดแบ่งเกรด โดยการจัดเกรดไม้ของแต่ละโรงงานแต่ละร้าน จะไม่เหมือนกันนะครับ แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่การปรับปรุงคุณภาพไม้มากกว่าครับ เพราะหากไม่มีการปรับปรุงคุณภาพไม้หรือทำให้ไม้แห้งก่อนนำมาประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์ ถึงจะจัดเป็นเกรด A ก็จะมีปัญหาไม้แตก หดหรือบิดงอ ตามมาทีหลังได้ครับ

 คุณสมบัติของไม้...

        โดยที่ไม้เกิดจากต้นไม้หลายชนิด คุณสมบัติในด้านต่างๆ ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ จึงมีความแตกต่างกัน ไม่แต่ละชนิดย่อมเหมาะสมกับงานแต่ละอย่างมากน้อยไม่เหมือนกัน ในงานก่อสร้างเรามักคำนึงถึงความแข็งแรง และความทนทานในประดิษฐกรรม เครื่องเรือน หรือส่วนประกอบเครื่องจักรกล ซึ่งต้องการความสวยงาม และแนบเนียนในการเข้าไม้ เราอาจคำนึงถึงลวดลายในไม้ การหดหรือการพองตัว ความยากง่ายในการไสกบตกแต่ง ตลอดจนการลงน้ำมัน ในการทำลังใส่ของเราอาจคำนึงถึงความหนักเบาและความยากง่ายในการตอกตะปู ในการทำเยื่อกระดาษเราสนใจถึงปริมาณส่วนประกอบทางเคมีของไม้ และลักษณะเส้นใย ร่วมทั้งความยากง่ายในการฟอกสี

ความชื้น หมายถึง...

         ความชื้น หมายถึง น้ำที่มีอยู่ในไม้ มีความสัมพันธ์ต่อคุณสมบัติของไม้ในด้านต่างๆ อย่างสำคัญยิ่ง ปริมาณความชื้นไม้นิยมแสดงเป็นค่าส่วนร้อยของน้ำหนักเนื้อไม้แท้ๆ ซึ่งความชื้นในไม้หาได้จากสูตร

         %ความชื้นไม้ = (ก-ล)x100/ล    *โดย ก หมายถึง น้ำหนักก่อนอบ  ล หมายถึง น้ำหนักหลังอบ

         เช่น ไม้ชิ้นหนึ่ง ชั่งน้ำหนกขณะที่มีความชื้นอยู่ได้ 112 กรัม หลังจากนำเข้าเตาอบจนกระทั่งน้ำระเหยไปหมด ชั่งอีกครั้งหนึ่งได้น้ำหนักเหลือ 100 กรัม เมื่อคำนวณแล้วได้ความชื้นของไม้ = (112-100) x 100/100 = 12% น้ำหนัก 12 กรัมที่หายไป คือ น้ำหนักน้ำ คิดเป็นส่วนร้อยของน้ำหนักไม้ได้ร้อยละ 12

         ตามปกติ ไม้จะมีความชื้นอยู่ในตัวเสมอไม่มากก็น้อย ในขณะที่ถูกตัดโค่นลงใหม่ๆ ความชื้นอาจมีแตกต่างกันระหว่างร้อยละ 60-300 หรือสูงต่ำกว่านั้น และมีบรรจุอยู่ทั้งในช่องเซลล์ และผนังเซลล์ เมื่อปล่อยไว้ในอากาศหลังจากตัดทอนหรือแปรรูปเป็นแผ่นแล้ว ไม้จะค่อยๆแห้งลงเอง โดยที่น้ำในช่องเซลล์จะแห้งไปก่อนจนถึงระดับหนึ่งซึ่งความชื้นในผนังเซลล์ยังมีอยู่เต็ม แต่ความชื้นในช่องเซลล์หมดไป เราเรียกความชื้นระดับนี้ว่า "จุดหมาด" ความชื้นที่จุดหมาดของไม้ชนิดต่างๆ มีค่าไล่เลี่ยกันระหว่างร้อยละ 25-30  ไม้ที่มีความชื้นสูงกว่าจุดหมาดเรียกว่า "สด" ไม้ที่หมาดแล้วนี้จะต้องเสียความชื้นต่อไป จนกระทั่งได้ส่วนสัมพันธ์กับความชื้นในอากาศโดยรอบ ไม้ที่แห้งจนได้ส่วนสัมพันธ์กับความชื้นในอากาศแล้วนี้ เรียกว่า "แห้ง" หรือ แห้งในอากาศ สำหรับประเทศไทยปริมาณความชื้นไม้แห้งจะมีค่าเปลี่ยนแปรอยู่ระหว่างร้อยละ 10-16 หรืออาจสูงต่ำกว่าได้นี้บ้าง ตามความเปลี่ยนแปรความชื้นในอากาศของฤดูกาลต่างๆ เป็นที่สังเกตว่า การที่จะไม่ให้มีความชื้นเหลืออยู่เลยตามธรรมชาตินั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เว้นแต่จะทำการอบด้วยเตาอบ มีอุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียสเท่านั้น สภาพที่ไม้มีความชื้นเป็นศูนย์เช่นนี้ เรียกว่า "อบแห้ง" 

 

 

 

ประตูไม้สักแกะสลัก ประตูแกะสลัก ประตูไม้แกะสลักประตูไม้สักแกะสลักหงส์ ประตูแกะสลักหงส์ ประตูไม้แกะสลักหงส์ ประตูไม้สักแกะสลักมังกร ประตูแกะสลักมังกร ประตูไม้แกะสลักมังกร ประตูไม้สักแกะสลักปลา ประตูแกะสลักปลา ประตูไม้แกะสลักปลา ประตูไม้สักแกะสลักลายไทย ประตูแกะสลักลายไทย ประตูไม้แกะสลักลายไทยประตูไม้แกะสลักพญานาค ประตูแกะสลักพญานาค ประตูไม้สักแกะสลักพญานาค หน้าต่างไม้แกะสลัก หน้าต่างไม้สักแกะสลัก หน้าต่างแกะสลัก หน้าต่างวัด หน้าต่างโบสถ์ หน้าต่างวัดแกะสลัก ประตูวัด ประตูแกะสลักเทพพนม ประตูวัดแกะเทพพนม ประตูวัดแกะสลักเทพพนม ประตูโบสถ์ ประตูพระอุโบสถ ประตูพระอุโบสถแกะสลัก ประตูวัดแกะสลัก ประตูแกะสลัก หน้าต่างพระอุโบสถ ประตูวัดแกะสลักลายไทย ประตูวัดลายกนก ประตูวัดลายไทย ประตูวัดลายเทพพนม ประตูวัด ประตูวัดไม้ ประตูวัดไม้สัก ประตูไม้สักแกะสลัก ประตูแกะสลัก ประตูไม้แกะสลักประตูไม้สักแกะสลักหงส์ ประตูแกะสลักหงส์ ประตูไม้แกะสลักหงส์ ประตูไม้สักแกะสลักมังกร ประตูแกะสลักมังกร ประตูไม้แกะสลักมังกร ประตูไม้สักแกะสลักปลา ประตูแกะสลักปลา ประตูไม้แกะสลักปลา ประตูไม้สักแกะสลักลายไทย ประตูแกะสลักลายไทย ประตูไม้แกะสลักลายไทยประตูไม้แกะสลักพญานาค ประตูแกะสลักพญานาค ประตูไม้สักแกะสลักพญานาค หน้าต่างไม้แกะสลัก หน้าต่างไม้สักแกะสลัก หน้าต่างแกะสลัก หน้าต่างวัด หน้าต่างโบสถ์ หน้าต่างวัดแกะสลัก ประตูวัด ประตูแกะสลักเทพพนม ประตูวัดแกะเทพพนม ประตูวัดแกะสลักเทพพนม ประตูโบสถ์ ประตูพระอุโบสถ ประตูพระอุโบสถแกะสลัก ประตูวัดแกะสลัก ประตูแกะสลัก หน้าต่างพระอุโบสถ ประตูวัดแกะสลักลายไทย ประตูวัดลายกนก ประตูวัดลายไทย ประตูวัดลายเทพพนม ประตูวัด ประตูวัดไม้ ประตูวัดไม้สัก ประตูบ้านสวย ประตูไม้สวย ประตูสวย ประตูอบแห้ง ประตูไม้อบแห้ง

 

Visitors: 119,849